วันจันทร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

สถานที่แปลกๆ ที่ไม่คิดว่าจะมีในโลก อันดับสุดท้าย สุดยอดดดด ...

1. เดอะเวฟ ( The Wave) ที่รัฐแอริโซนา สหรัฐอเมริกา

"เดอะเวฟ" คือ ภูเขาหินทรายที่ฟอร์มตัวในลักษณะคล้ายคลื่นลาดชัน เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 190 ล้านปีก่อนหรือในยุคจูราสสิก
เนื่องจากพื้นที่แถบนี้มีความเปราะบางมาก ทางการจึงจำกัดให้เข้าชมได้เพียงวันละไม่เกิน 20 คน และต้องเดินเท้าเข้าไปเกือบ 5 ก.ม. จึงจะถึงดินแดนมหัศจรรย์แห่งนี้
---------

2. Tessellated Pavement
บนเกาะแทสเมเนีย (รัฐหนึ่งในประเทศออสเตรเลีย)

นี่คือภาพลานหินตะกอนบริเวณชายฝั่งที่ Eaglehawk Neck บนเกาะแทสมาเนีย
ซึ่งถ้าหากมองเผินๆ จะแลดูคล้ายมีใครนำแผ่นกระเบื้องสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่มาวางเรียงรายริมทะเล
(บริเวณขอบสี่เหลี่ยมที่เราเห็นเป็นแนวเส้นตรงนั้น เกิดจากแรงตึงเครียดของผิวโลก ผนวกกับการกัดเซาะอย่างต่อเนื่องของคลื่นและแรงเสียดสีของทราย)
---------

3.
หินรูปทรงประหลาด ในทะเลทรายขาว ( White Desert) ประเทศอียิปต์

ทะเลทรายแห่งนี้ตั้งอยู่ใน Farafra Oasis มีลักษณะเป็นสีขาวและครีม
ประกอบด้วยกลุ่มหินชอล์ครูปทรงประหลาดขนาดใหญ่มากมาย อันเป็นผลงานของพายุทรายที่เกิดขึ้นเป็นครั้งคราว
---------

4.
บ่อน้ำพุร้อนสีเลือด ( Blood Pond Hot Spring) ที่เบปปุ ประเทศญี่ปุ่น

น้ำพุร้อนสีเลือด (Chinoike Jigoku) เป็นหนึ่งในบ่อน้ำพุร้อนชื่อดังของเมืองเบปปุ ในจังหวัดโออิตะ บนเกาะคิวชู
สาเหตุที่น้ำพุมีสีเลือดเนื่องจากมีธาตุเหล็กอยู่ในปริมาณมากนั่นเอง
---------

5. Giant's Causeway
ที่ไอร์แลนด์เหนือ

Giant's Causeway เป็นชายฝั่งที่เกิดจากการเย็นตัวของหินภูเขาไฟเมื่อประมาณ 50,000 ถึง 60,000 ปีที่ผ่านมา
ก่อให้เกิดหินรูปหกเหลี่ยมและหินแท่งสี่เหลี่ยมกว่า 40,000 แท่ง
องค์การยูเนสโกได้ขึ้นทะเบียน Giant´s Causeway เป็นมรดกโลกทางธรรมชาติมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1986 (พ.ศ. 2529)
---------

6.
ทะเลเกลือ ( salt flats) ที่ Salar de Uyuni ประเทศโบลิเวีย

จริงๆ แล้วที่ราบเกลือหรือทะเลเกลือลักษณะนี้มีอยู่หลายแห่งด้วยกัน
แต่ทะเลเกลือที่ Salar de Uyuni ของประเทศโบลิเวียนั้น มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก
โดยมีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาลมากถึง 10,582 ตารางกิโลเมตร
---------

7.
ป่าหิน ( Stone Forest) เมืองคุนหมิง มลฑลยูนาน ประเทศจีน

อุทยานป่าหิน (Shilin National Park) ในเมืองคุนหมิง จัดเป็นป่าหินที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก
โดยมีพื้นที่มากถึง 350 ตารางกิโลเมตร แต่เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมเพียง 12 ตารางกิโลเมตรเท่านั้น
เดิมทีหินปูนเหล่านี้อยู่ใต้ผิวโลก แต่ภายหลังได้ถูกดันขึ้นมาในลักษณะเดียวกับหินงอก
เชื่อกันว่าป่าหินแห่งนี้มีอายุราว 270 ล้านปีเลยทีเดียว
---------

8.
ธารน้ำแข็ง Taylor ใน McMurdo Dry Valleys ที่แอนตาร์คติกา (ขั้วโลกใต้)

ธารน้ำแข็งอันกว้างใหญ่ไพศาลแห่งนี้ มีพื้นที่ส่วนหนึ่งที่โดดเด่นเป็นสีแดงส้ม ตัดกับน้ำแข็งส่วนอื่นๆ ซึ่งมีสีขาวโพลน
เนื่องจากพื้นที่แถบนั้นเต็มไปด้วยออกไซด์ของเหล็ก (iron oxide) ซึ่งก็คือ "สนิม" นั่นเอง
ด้วยเหตุนี้บริเวณดังกล่าวจึงได้รับการขนานนามตามลักษณะทางกายภาพว่า "น้ำตกเลือด" (Blood Falls)
---------

9.
ทะเลสาบสปอท เลค ( Spotted Lake) – ประเทศแคนาดา

“สปอท เลค” ได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในทะเลสาบที่มีแร่ธาตุชนิดต่างๆ อาทิ แมกนีเซียม ซัลเฟต, แคลเซียม และโซเดียม ซัลเฟต ในปริมาณเข้มข้นมากที่สุดในโลก
แต่น่าเสียดายที่ทะเลสาบแห่งนี้อยู่ในที่ดินของเอกชน นักท่องเที่ยวจึงทำได้แค่มองจากราวรั้วกั้นริมถนนเท่านั้
(ส่วนที่เป็นจุดๆ คือน้ำ นอกนั้นเป็นส่วนของแร่ธาตุนานาชนิด ที่สามารถลงไปเดินสำรวจได้)
---------

10.
ทะเลทรายแบล็ค ร็อค ( Black Rock Desert) ที่รัฐเนวาดา สหรัฐอเมริกา

ทะเลทรายแบล็คร็อค คือ ก้นทะเลสาบที่แห้งสนิท
ครั้งหนึ่งดินแดนแถบนี้เคยเป็นส่วนหนึ่งของทะเลสาบในยุคก่อนประวัติศาสตร์ ที่มีชื่อว่า "Lahontan"
ซึ่งปรากฏอยู่ในสมัย 18,000-7,000 พันปีก่อนคริสตกาล ในช่วงที่ทะเลสาบโบราณแห่งนี้มีระดับน้ำสูงสุด (เมื่อประมาณ 12,700 ปีก่อน)
ทะเลทรายแบล็คร็อคเคยอยู่ใต้น้ำที่มีความลึกถึง 150 เมตรเลยทีเดียว
---------

11.
ถ้ำคริสตัล ( Crystal Cave) ในมลรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา

ถ้ำคริสตัล เป็น 1 ใน 240 ถ้ำ (ที่ถูกค้นพบ) ภายในอุทยานแห่งชาติ Sequoia ในมลรัฐแคลิฟอร์เนีย
ถ้ำดังกล่าวเป็นถ้ำ "หินอ่อน" ธรรมชาติ ที่ภายในมีอุณหภูมิคงที่ประมาณ 9 องศาเซลเซียส
ซึ่งการจะเข้าไปชมภายในถ้ำต้องอาศัยไกด์ทัวร์เป็นผู้นำทางเท่านั้น
---------

12.
ทุ่งหินรูปรังผึ้ง Bungle Bungles ในรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย ประเทศออสเตรเลีย

ทุ่งหินทรายที่มีรูปทรงคล้ายรังผึ้ง หรือ Bungle Bungles นี้ เป็นส่วนหนึ่งของอุทยานแห่งชาติ Purnululu
ที่องค์การยูเนสโกได้ขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกโลกเมื่อปี ค.ศ. 1987 (พ.ศ. 2530) กลุ่มหินดังกล่าวประกอบด้วยหินทรายและหินกรวดมน
ซึ่งเมื่อประมาณ 375-350 ล้านปีก่อนหินเหล่านี้เคยเป็นตะกอนในลุ่มน้ำ "Ord"
---------

13.
ดินแดนโบราณ คัปปาโดเกีย ประเทศตุรกี

คัปปาโดเกีย ได้รับการประกาศจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลก เมื่อปี ค.ศ.1985 (พ.ศ. 2528)
ดินแดนดังกล่าวมีภูมิประเทศที่แปลกตาซึ่งเกิดจากจากลาวาภูเขาไฟที่ไหลออก มาปกคลุมพื้นที่
เมื่อวันเวลาผ่านไป พายุ ลม ฝน ได้เป็นตัวแปรที่ก่อให้เกิดการแปรสภาพเป็นหุบเขา ร่องลึก เนินเขา กรวยหิน
และเสารูปทรงต่างๆ ที่งดงาม บางส่วนมีประชาชนอาศัยอยู่ภายใน
---------

14.
ทะเล (สาป) เดือด Boiling Lake ประเทศโดมินิกา ( Commonwealth of Dominica)

“Boiling Lake” เป็นบ่อน้ำพุร้อนที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของโลก (รองจากทะเลสาป Frying Pan Lake ของประเทศนิวซีแลนด์)
มีความกว้างราว 60 เมตร ลึก 59 เมตร อุณหภูมิริมทะเลสาปอยู่ที่ประมาณ 82 – 91.5 องศาเซลเซียส
ระดับน้ำภายในทะเลสาปแห่งนี้มีลักษณะขึ้น-ลงตลอดเวลา โดยเมื่อเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2006 (พ.ศ. 2549) น้ำในทะเลสาปแห่งนี้ได้แห้งเหือดหายไป
และเพิ่งกลับมาอยู่ในระดับปกติอีกครั้งเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา
---------

15.
แม่น้ำสีแดง ( Rio Tinto) ที่ประเทศสเปน

บริเวณพื้นที่ตามแนวชายฝั่งแม่น้ำ Río Tinto มีการทำเหมืองทองแดง เงิน ทอง และแร่ธาตุอื่นๆ มาตั้งแต่สมัยโบราณ (ราว 5 พันปีก่อน)
ส่งผลให้น้ำในแม่น้ำดังกล่าวมีค่าความเป็นกรดสูงมาก ส่วนสาเหตุที่น้ำมีสีแดงก็เนื่องมาจากก้อนหินที่อยู่ในแม่น้ำแห่งนี้ประกอบ ด้วยธาตุเหล็กในปริมาณเข้มข้นนั่นเอง
เหมืองในแถบนี้ถูกปิดมานานนับ 10 ปี แต่เนื่องจากทองแดงมีราคาสูงขึ้น เจ้าของเหมืองจึงมีแผนเปิดเหมืองทองแดงอีกครั้งในปีหน้า
---------

16.
หุบเขาโลกพระจันทร์ ( Vale de Lua) ที่ประเทศบราซิล

หุบเขาโลกพระจันทร์ หรือ "the valley of the moon" เป็นที่ราบสูงโบราณที่มีอายุเก่าแก่กว่า 1.8 พันล้านปี
โดยพื้นที่ว่างระหว่างก้อนหินจะมีน้ำจากแม่น้ำ San Miguel แทรกอยู่ภายใน ดินแดนประหลาดแถบนี้เป็นส่วนหนึ่งของอุทยานแห่งชาติ Chapada dos Veadeiros
ซึ่งองค์การยูเนสโกประกาศให้เป็นมรดกโลกเมื่อปี ค.ศ. 2001 (พ.ศ. 2544) ที่ผ่านมา
---------

17. จ
ะ โตน เห็น ประเทศไทย


แท่งหินประหลาดที่มีอายุกว่า 20 ปี ตำนานการเกิดของมันนั้นน่าอดสูเกินกว่าจะกล่าว และจนกระทั่งบัดนี้ก็ยังไม่มีผู้ใดสามารถอธิบายได้ว่า แท่งหินพิลึกที่เรียงกันเป็นทางยาวเหมือนสโตนเฮ็นจ์ นี้ให้ประโยชน์อันใดให้แก่ประเทศไทย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น