เครดิตคุณ แมวเหมียวพุงป่อง ครับ
1. พนังดิน ที่สร้างขึ้นชั่วคราว ไม่มีทางกันน้ำอยู่
เพราะน้ำ เมื่อถูกกั้นไว้ จะซึมลงใต้ดิน ด้วยแรงกดจากน้ำข้างบน
น้ำข้างบน ที่ท่วมสูง 2 เมตร มีแรงกดเท่ากับ 2 ตัน ต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร
ถ้ากางแขนออกสุด หมุนตัวเป็นวงกลม .. พื้นที่ที่ปลายแขนคลุม คือ ประมาณ 3 ตารางเมตร
น้ำหนักน้ำที่ท่วม ในพื้นที่นั้น คือ 6 ตัน .. หรือ ประมาณรถเก๋ง 4 คัน
2. น้ำที่ถูกอัดลงใต้ดิน ไหลลงไปลึกๆ ก็จะเจอน้ำที่ีถูกอัดอยู่แล้ว ลงไปต่อไม่ได้
ไหลย้อนกลับไปทางน้ำที่สูงกว่าก็ไม่ได้
ไหลไปได้ทางเดียว คือ ลอดใต้พนังกันน้ำ
ไม่ได้ไหลไปเอื่อยๆเฉยๆ
แต่พาแรงอัด 2 ตัน ต่อตารางเมตรไปด้วย
พาไปอัดกับดินที่อยู่ใต้พนังกันน้ำ
ดินที่อยู่ใต้พนังกั้นน้ำ .. ลึกลงไปซัก 2-3 เมตร
โดนน้ำเข้า ก็กลายเป็นดินเหลวๆ .. ดินโคลน
พร้อมที่จะไหลไปจากที่มันเคยอยู่
พร้อมที่จะไหลไป โดยไม่ใส่ใจพนังกั้นน้ำด้านบน
พนัง .. จึงพร้อมที่จะยุบถล่มลงมา
กำแพงบ้าน, กำแพงรั้ว
ประตูกันน้ำ, บานกันน้ำ ฯลฯ ก็เช่นกัน
น้ำ มุดลอดมาทางน้ำใต้ผิวดินได้
และไปโผล่ที่ในพื้นบ้านได้ .. สบายๆ
3. แรงดันน้ำไหล ..
น้ำที่ไหล มี "แรงอัด" เข้ากับสิ่งที่ขวางมัน
น้ำที่ไหลเอื่อยๆ .. ประมาณคนเดิน (5-6 กม/ชม)
มีแรงอัดประมาณ 300 กิโลกรัมต่อตารางเมตร
ถ้าไหลเร็วขึ้นเท่าตัว .. ประมาณคนวิ่งเหยาะๆ
แรงอัด เพิ่มขึ้น 4 เท่า .. เป็น 1,200 กิโลกรัม/ตร.เมตร
แท่งคอนกรีต (barrier) .. ถ้าวางขวางทางไหลน้ำ กว้าง 2 เมตร, สูง 1 เมตร
จะโดนน้ำที่ไหลเร็วๆ .. ดันด้วยแรง 1,200 x 2 x 1 หรือ 2,400 กิโลกรัม
เจ้าแท่ง barrier นี่ มันหนักเท่าไหร่หว่า???
------------------- |
|
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น