ถาม : สงสัยน่ะครับ เส้นสีแดงสองเส้นลากเชื่อมตัว L สองตัวหมายความว่าไร? แล้วก็เส้นแดงหัวกลมๆกับ เส้นน้ำเงินหัวแหลมๆด้วย รบกวนสอบถามผู้รู้ด้วยครับ
ตอบ1: แดงลากเชื่อม L สองตัวเป็นร่องความกดอากาศต่ำครับ เส้นแดงหัวกลมๆกับ เส้นน้ำเงินหัวแหลมๆด้วย เป็นสายเมฆยาวๆที่เห็นในภาพดาวเทียมอ่ะครับ แล้วก็เป็นพายุหมุนนอกเขตร้อนด้วยครับ
ตอบ2: เส้นหัวกลม ๆ กับแหลมๆ นั้นคือแนวปะทะอากาศครับ เกิดจากความร้อนและเย็นมาชนกันและยกตัวสูงขึ้นครับ ใครอยู่บริเวณแนวนั้นจะเจอกับฝนฟ้าคะนองได้ครับ
หลังจากนั้นเป็นต้นมา ก็มีผู้ตั้งกระทู้เรื่องนี้ อธิบายได้อย่างถึงใจ ...
ลักษณะอากาศเด่นในฤดูฝน
การพิจารณาลักษณะอากาศ หรือตัวแปรทางอุตุนิยมวิทยา ที่มีผลต่อลมฟ้าอากาศของประเทศไทยหลัก ๆ ได้แก่ ร่องมรสุม(เมื่อพิจารณาจากกระแสลมชั้นบน) หรือ ร่องความกดอากาศต่ำ(เมื่อพิจารณาจากแผนที่ความกดอากาศเท่า) เขตแนวพัดสอบเข้าหากันของลมค้า (Inter Tropical Convergence Zone) หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง พายุหมุนเขตร้อน มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และ คลื่นกระแสลมตะวันออก (Easterly Wave)
|
|
| โดยคุณ CoP-การแปลความหมายแผนที่อากาศ (192.168.171.6) [29-06-2010 15:06] |
|
ความเห็นที่ 1 โดยคุณ CoP-การแปลความหมายแผนที่อากาศ (192.168.171.6) [29-06-2010 15:10] #29644 | |
จากภาพแสดงแผนที่ในช่วงฤดูฝนครับ |
|
ความเห็นที่ 2 โดยคุณ CoP-การแปลความหมายแผนที่อากาศ (192.168.171.6) [29-06-2010 15:18] #29645 | |
มาพิจารณาร่องความกดอากาศต่ำ ร่องมรสุม และแนวปะทะอากาศในเขตร้อนว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร
1 ร่องความกดอากาศต่ำ (Low Pressure Trough) เมื่อพิจารณาจากแผนที่ความกดอากาศเท่า คือบริเวณหรือแนวที่อยู่ระหว่างความกดอากาศสูงของทั้งสองซีกโลก เปรียบได้กับแนวร่องเขาที่ทอดตัวอยู่ระหว่างเขาสูง แนวร่องความกดอากาศต่ำนี้จะวางตัวค่อนข้างจะเป็นตะวันตก-ตะวันออก เช่น พาดจากประเทศอินเดียผ่าน บังคลาเทศ พม่า ไทย ลาว ทะเลจีนใต้ ไปยังมหาสมุทรแปซิฟิก โดยปกติมักลากเชื่อมระหว่างหย่อมความกดอากาศต่ำ ความแรงของร่องขึ้นอยู่กับ ความแคบหรือถูกบีบจากบริเวณความกดอากาศสูงจากทั้งสองซีกโลก ระยะห่าง ระหว่างหย่อมความกดอากาศต่ำ หรือจำนวนหย่อมความกดอากาศต่ำที่ประกอบขึ้นเป็นร่องความกดอากาศต่ำ
ลักษณะอากาศในแนวร่องความกดอากาศต่ำจะแปรปรวน อากาศมีการยกตัวได้ดี ทำให้บริเวณแนวร่องมีเมฆก่อตัวได้ดี ส่งผลให้มีเมฆมากและมีฝนตกได้มากกว่าพื้นที่อื่น ๆ ที่อยู่นอกแนวร่องนี้ โดยฝนที่ตกจะตกได้หลายเวลา ฝนจะตกต่อเนื่องและตกหนักได้บริเวณที่เป็นหย่อมความกดอากาศต่ำ หย่อมดังกล่าวจะเคลื่อนตัวตามแนวร่องจากตะวันออกไปตะวันตก
การเคลื่อนที่ของแนวร่องความกดอากาศต่ำจะเลื่อนขึ้นและเลื่อนลงตามแรงดันของบริเวณความกดอากาศสูงจากทั้งสองซีกโลก ซึ่งโดยปกติจะเลื่อนจากใต้ขึ้นเหนือในช่วงต้นฤดูฝนจากอิทธิพลของบริเวณความกดอากาศสูงจากซีกโลกใต้ที่แรงขึ้น และจะเลื่อนจากเหนือลงใต้ในช่วงปลายฤดูฝนหลังจากที่เคลื่อนตัวขึ้นไปพาดผ่านอยู่บริเวณประเทศจีนตอนใต้
ร่องความกดอากาศต่ำอาจมีได้สองร่องเมื่อมีความกดอากาศสูงจากมหาสมุทรแปซิฟิกเข้ามาแทรก ที่เราเรียกว่า Secondary Trough โดยตัวร่องหลักจะพาดอยู่บริเวณประเทศจีนตอนใต้ และร่องที่สองจะพาดผ่านอยู่บริเวณประเทศไทยแต่มักจะมีกำลังไม่ค่อยแรง โดยวางตัวจากชายฝั่งประเทศอินเดียผ่านอ่าวเบงกอล ประเทศไทยไปยังชายฝั่งประเทศเวียดนาม
ลักษณะที่พบในแผนที่อากาศคือเส้นคู่ที่ลากเชื่อมระหว่างหย่อมความกดอากาศต่ำ ระยะห่างของเส้นคู่ขนานไม่ได้กำหนดขึ้นไว้เป็นการเฉพาะอย่างชัดเจน ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมตามเสกลของแผนที่นั้น ๆ ปกติจะห่างกันประมาณ 2 ละติจูด |
|
ความเห็นที่ 3 โดยคุณ CoP-การแปลความหมายแผนที่อากาศ (192.168.171.6) [29-06-2010 15:21] #29646 | |
2 ร่องมรสุม (Monsoon Trough) เป็นร่อง หรือ ทรอฟ (Trough) ที่เกิดขึ้นในกระแสลมชั้นบน จากการพัดโค้ง (Cyclonic Curvature) หรือ พัดเป็นวงก้นหอยเข้าหาศูนย์กลาง (Cyclonic Vortex) ของกระแสลมในลักษณะทวนเข็มนาฬิกา ในซีกโลกเหนือ ซึ่งสามารถต่อเชื่อมเป็นแนวยาว ที่เกือบจะเป็นตะวันตก-ตะวันออก เช่นเดียวกับร่องความกดอากาศต่ำที่ได้กล่าวมา
ลักษณะของการพัดของกระแสลมอาจเกิดจากการพัดเวียนรอบ ๆ หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงที่ปรากฏในระดับผิวพื้น หรือลักษณะที่เกิดจากการพัดเฉือนกัน (Shear) ของลมสองกระแสที่มีทิศทางต่างกัน หรือมีทิศทางเดียวกันแต่มีความเร็วต่างกัน ในแผนที่ลมชั้นบนจะลากแกนกลางของทรอฟ ด้วยเส้นประหนา เชื่อมต่อระหว่าง วอร์เทกซ์ (Vortex)
ในแนวร่องมรสุม จะมีลักษณะอากาศแปรปรวน อากาศมีการยกตัวได้ดี ส่งผลให้มีเมฆมากและมีฝนตกมากกว่าพื้นที่ที่อยู่นอกแนวร่อง บริเวณที่เป็นวอร์เทกซ์ จะมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักได้ วอร์เทกซ์ นี้จะเคลื่อนตัวจากตะวันออกไปตะวันตก ตามกระแสอากาศหลักในเขตร้อนที่เคลื่อนตัวจากตะวันออกไปตะวันตก แนวนี้จะเลื่อนขึ้นไปยังละติจูดสูงและต่ำ เช่นเดียวกับร่องความกดอากาศต่ำที่ได้กล่าวมา |
|
ความเห็นที่ 4 โดยคุณ CoP-การแปลความหมายแผนที่อากาศ (192.168.171.6) [29-06-2010 15:23] #29647 | |
3 เขตแนวพัดสอบเข้าหากันของลมค้า (Inter Tropical Convergence Zone; ITCZ)
แนวพัดสอบนี้เกิดขึ้นจากการพัดเข้าหากันของลมค้าจากทั้งสองซีกโลก โดยที่ต้นกำเนิดของลมค้าทั้งสองซีกโลกจะอยู่บริเวณละติจูดที่ ประมาณ 30 องศาเหนือใต้ หรือที่เรียกว่าพื้นที่กึ่งเขตร้อน ซึ่งเป็นพื้นที่จมตัวของอากาศตามการหมุนเวียนของ แฮดลี่เซล (Hadley Cell ) โดยในซีกโลกเหนือจะเป็นลมตะวันออกเฉียงเหนือส่วนในซีกโลกใต้จะเป็นลมตะวันออกเฉียงใต้ แนวพัดสอบนี้จะเลื่อนขึ้นและลงตามฤดูการ กล่าวคือ จะพาดผ่านอยู่บริเวณซีกโลกเหนือในช่วงฤดูร้อนและฤดูฝน เช่นเดียวกับร่องความกดอากาศต่ำ โดยบริเวณที่มีการเคลื่อนที่ขึ้นไปยังละติจูดสูงได้มากที่สุดคือบริเวณพื้นทวีป ส่วนบริเวณที่เคลื่อนตัวน้อยที่สุดคือบริเวณมหาสมุทร
ลักษณะอากาศในแนวพัดสอบ จะมีการยกตัวของอากาศได้ดี ทำให้มีเมฆมากและมีฝนตกมากกว่าบริเวณอื่น ๆ และบ่อยครั้งมีการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนเกิดขึ้นด้วย
|
|
ความเห็นที่ 5 โดยคุณ CoP-การแปลความหมายแผนที่อากาศ (192.168.171.6) [29-06-2010 15:23] #29648 | |
อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติ ส่วนมากแล้วเมื่อร่องความกดอากาศต่ำมีกำลังแรง จะวิเคราะห์ได้ลมในชั้นบรรยากาศระดับล่างเป็นลักษณะของร่องมรสุมด้วย ทำให้หลายครั้งเกิดความยุ่งยากว่าจะเรียกว่าร่องความกดอากาศต่ำพาดผ่านหรือร่องมรสุมพาดผ่าน ในความเห็นของเวรผู้พยากรณ์อากาศมองว่าผลกระทบจากร่องมรสุม (พิจารณาจากลมอย่างเดียว) มีผลต่อการเกิดฝนมากกว่า จึงมักใช้เป็นคำกลางในการเขียนข่าวพยากรณ์อากาศในลักษณะอากาศทั่วไป เพื่อเรียกตัวแปรทั้งสองที่เกิดขึ้น
|
|
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น